top of page

"ฟิล์มยืดพันพาเลท" วิธีการพันฟิล์มยืด ให้มีประสิทธิภาพและลดต้นทุนมากที่สุด

อัปเดตเมื่อ 13 ก.พ.



ถ้ากล่าวถึง ฟิล์มยืดพันพาเลท  ในปัจจุบันฟิล์มยืดพันพาเลทเข้ามามีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์และกลุ่มผู้ประกอบการที่มีการขนส่งสินค้าทั่วไป นอกจากใช้ในการขนส่งเพื่อลำเลียงสินค้าให้ถึงปลายทางอย่างปลอดภัยแล้ว ยังถูกใช้เป็นฟิล์มยืดในการปกป้องสินค้าโดยตรงจากการปนเปื้อน ฝุ่นละออง อากาศและสภาวะแวดล้อมภายนอกอื่นๆ เพื่อให้สินค้าไม่เกิดความเสียหายหรือปนเปื้อนในระหว่างการขนส่ง ฟิล์มยืดพันพาเลทจึงเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ผู้ประกอบการ ถูกมาใช้ในกิจการมากมายแพร่หลาย ทั้งการค้าขายในประเทศและการการส่งออกให้


การใช้ ฟิล์มยืดพันพาเลทให้ถูกวิธีถือเป็นการช่วยผู้ประกอบการในการใช้งานสินค้าอย่างหนึ่งให้คุ้มค่าที่สุด เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพของการลำเลียงให้มีความปลอดภัย และสามารถเลือกใช้งานได้ถูกวิธีตามหลักแต่ละประเภทของสินค้า


วิธีการใช้ฟิล์มยืดพันพาเลทอย่างถูกต้องเพื่อลดต้นทุน

ขั้นตอนที่ 1 ประกอบจุกดำเข้ากับม้วนฟิล์ม เพื่อป้องกันการบาดเจ็บระหว่างพันพาเลท วิธีการใช้งาน ใช้นิ้วสอดเข้าไปในแกนตามความถนัด โดยให้นิ้วโป้งอยู่ด้านนอกแกน เพื่อใช้ล็อคฟิล์มเวลาดึงยืด


ขั้นตอนที่ 2 ใช้ด้านในฟิล์มหันเข้าหาพาเลท (ด้านกาว) เพราะด้านในฟิล์มมีคุณสมบัติในการเกาะติดที่ดีกว่า ช่วยในการยึดเกาะและพยุงสินค้าให้คงตัวไม่โค่นล้ม


*การหันด้านฟิล์มยืดพันพาเลทผิด จะทำให้ประสิทธิภาพในการรัดสินค้าจะลดลง เมื่อการรัดสินค้าน้อยลง ผู้ที่อยู่หน้างาน อาจเกิดการพันฟิล์มมากขึ้นอย่างไม่ทราบสาเหตุ และเกิดต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในการใช้งานสินค้า

ขั้นตอนที่ 3 เมื่อเริ่มพันพาเลท ให้เริ่มจากล่างขึ้นบน โดยเหน็บฟิล์มกับลังสินค้าให้ลึกพอประมาณ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการเริ่มพัน


ขั้นตอนที่ 4 เมื่อยึดฟิล์มในจุดตั้งต้นแล้ว ให้ผู้ปฏิบัติงานถอยหลังพัน เพื่อเป็นแรงส่งในการยืดฟิล์ม เน้นพันลงไปที่มุมฐานพาเลท เพื่อยึดสินค้าไม่ให้ขยับเขยื่อนออกจากพาเลท ระหว่างการเคลื่อนย้าย


*การพันฟิล์มยืดพันพาเลทจากล่างขึ้นบน จะช่วยประคองสินค้าไม่ให้เกิดการโค่นล้มระหว่างการขนส่ง และการเดินถอยหลังในการพันพาเลท จะลดอาการมึนศรีษะของผู้ปฏิบัติงานได้อีกด้วย



ขั้นตอนที่ 5 ให้ผู้ปฏิบัติงานเริ่มพันจากล่างขึ้นบน โดยใช้หลักการ 1 ชุดมาตรฐานคือ ล่าง 3 รอบ, กลาง 2 รอบ, บน 3 รอบ โดยแต่ละรอบพันแบบทับซ้อนเหลื่อมกันประมาณ 10 ซม.


ขั้นตอนที่ 7 สำหรับสินค้าที่มีน้ำหนักไม่เกิน 400 กก. ให้พัน 1 ชุดมาตรฐานจากล่างขึ้นบน หากน้ำหนักสินค้าเกิน 400 กก.ขึ้นไปให้พัน 2 ชุดมาตรฐาน คือ จากล่างขึ้นบนและบนลงล่าง


*การพันฟิล์มยืดพันพาเลทให้ทับซ้อนเหลื่อมกันจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในรัดสินค้ามากยิ่งขึ้น



 

รูปแบบ A พาเลทวางสินค้าทั่วไป จำพวกลัง (ฐานสินค้าเสมอพาเลท)

  • พันสินค้ายึดกับพาเลท ล่าง 3 รอบ กันการโค่นล้ม

  • พันสินค้าระหว่างชั้น กลาง 2 รอบ เน้นพันให้ทับซ้อนเหลื่อมกันประมาณ 10 ซม.

  • พันสินค้ายึดช่วงบน 3 รอบ

การพันสินค้ารูปแบบ A : เน้นพันสินค้ายึดกับพาเลท

ให้แน่น ยืดฟิล์มให้ตึงทุกครั้งเมื่อชนมุม จะทำให้รัดสินค้าแน่นมากขึ้น





 

รูปแบบ B พาเลทวางสินค้าแบบกระสอบ มีความโค้งมน (ฐานสินค้าไม่เสมอพาเลท)

  • พันสินค้ายึดกับพาเลท ล่าง 4 รอบ กันการโค่นล้ม

  • พันสินค้ายึดช่วงบน 3 รอบ

การพันสินค้ารูปแบบ B : ขณะเริ่มต้นพันพาเลท ไม่ควรยืดฟิล์มมากจนเกินไป เพราะฟิล์มอาจจะโดนมุมพาเลทที่ยื่นออกมาขาด แนะนำให้พันหลวมๆ 2 รอบแรกก่อนออกแรงยืด






 

รูปแบบ C พาเลทวางสินค้าแบบอิสระ รูปทรงต่างกัน (ฐานสินค้าไม่เสมอพาเลท)

  • พันสินค้ายึดกับพาเลท ให้มีลักษณะไขว้กากบาท

  • พันสินค้าซ้ำ 2 รอบ ขึ้นบนลงล่าง ให้มั่นใจว่าครอบคลุมสินค้าทั้งหมด

การพันสินค้ารูปแบบ C : ไม่สามารถระบุรอบพันได้ ให้ดูความเหมาะสมตามหน้างาน เน้นพันแบบพันทับซ้อนเหลื่อมกันประมาณ 20 ซม.









สนใจฟิล์มยืดพันพาเลท เอ็ม เสตรช

โทร. 02-741-8444 หรือไลน์แอด @mmpcorp


ฟิล์มยืด ฟิล์มยืดพันพาเลท เอ็ม สเตรช ผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ยอดขายอันดับ 1 การันตีคุณภาพสินค้าและการบริการ.


#ฟิล์มยืดพันพาเลท #ฟิล์มยืด #ฟิล์มพันสินค้า #ฟิล์มพันพาเลท #เอ็มเสตรช #MStretch #Stretchfilm #MMPCorporation #ฟิล์มยืดราคาถูก


ดู 4,291 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page