top of page

"พลาสติกแรป"เคล็ดไม่ลับในการใช้ให้ถูกต้อง

อัปเดตเมื่อ 13 ก.พ.

ปกติของติดครัวจำพวกห่อพวกแรปนี่ผมจะมีไว้อยู่สองสามอย่าง อย่างแรกที่ขาดไม่ได้คือฟิล์มพลาสติกที่แบบเป็นม้วนพลาสติกบางๆ นั่นแหละครับ อย่างที่สองก็คือฟลอยด์หรือแผ่นอลูมิเนียมที่ทนความร้อน และสามก็คือถุงซิปล็อคหรือถุงพลาสติกร้อนแบบใส


หลายคนถามมาว่า พลาสติกแรปนี่ใช้ยังไง มีข้อควรระวังอย่างไร มีความจำเป็นหรือเปล่าที่จะต้องมีติดครัวเอาไว้ ก็เลยอยากเอาประสบการณ์ที่เคยใช้มา มาเขียนเล่าบอกเพื่อนๆ เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์นะครับ




1. มีไว้เพื่อป้องกันกลิ่นฟุ้งกระจายตลบอบอวน

เนื้อสัตว์แต่ละชนิดจะมีกลิ่นไม่พึ่งประสงค์แน่นอน ต่อให้สดแค่ไหนก็จะมีกลิ่นคาวเฉพาะตัว เวลาเราเก็บเค้าแช่ตู้เย็นจึงจำเป็นต้องเก็บในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด หรือถ้าเราหมักเนื้อสัตว์และต้องการแช่ตู้เย็นพักไว้ให้เข้าเนื้อเข้าหนัง ผมก็จะใช้แรปปิดภาชนะหมัก เพื่อป้องกันกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์และซอสหมักกระจัดกระจายไปทั่วตู้เย็น กลิ่นเหล่านี้สามารถติดอาหารชนิดอื่นๆ ได้นะครับ เช่น ติดกับขนมปัง ผลไม้ หรือแม้กระทั้งชีส ง่ายๆ เลย ลองวางชีส กับ เนื้อหมู ในตู้เย็นโดยที่ไม่ต้องใส่ถุงหรือห่อพลาสติกแรปดู จะได้ชีส กลิ่นหมู ในเวลาไม่นาน



2. มีไว้เพื่อรักษาความสดของวัตถุดิบ

วิธีการถนอมอาหารหรือวัตถุดิบที่ดีที่สุดก็คือ แช่ตู้เย็นใช่มั้ยหล่ะครับ แต่อากาศในตู้เย็นก็ถือว่ามีความชื้นน้อยหรือเรียกว่าอากาศแห้งมากๆ เหมือนเวลาเข้าหน้าหนาวที่หนาวๆ มากทีไร ผิวเราจะแห้งและแตกง่ายใช่มั้ยครับ ผักผลไม้และเนื้อสัตว์ที่เก็บในตู้เย็นก็เหมือนกัน วัตถุดิบทางอาหารเหล่านี้ก็จะคายน้ำและความสดก็จะค่อยๆ หมดไปเช่นกัน


วิธีการเก็บรักษาเพื่อยืดอายุให้สดทนสดนานง่ายๆ ก็คือ ห่อด้วยพลาสติกแรปถนอมอาหารครับ คิดง่ายๆ เหมือนต้นไม้เมืองหนาวที่ปลูกในเรือนกระจก ไอน้ำและความสดต่างๆ จะถูกเก็บในวัตถุดิบได้ดีกว่า ทำให้รักษาความสดได้นานกว่า นอกจากนี้เวลาที่เราทำอาหาร และกินไม่หมด ก็ช่วยในการเก็บอาหารและยืดอายุอาหารไว้กินในมื้อต่อๆ ไปได้ด้วย




3. ปิดหรือห่อเพื่อรักษาความชุ่มชื้น

อาหารบางอย่างต้องการการดูแลเป็นพิเศษ การใช้ฟิล์มห่ออาหารจึงมีความจำเป็น เพื่อช่วยรักษาความอร่อยของอาหารนั้นไว้อย่างเต็มที่

(a) ขนมปัง เวลาทำขนมปังกินเอง มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ต้องพักขนมปังให้ขึ้นฟู การห่อแรปหรือคลุมด้วยผ้าขาวบาง จะช่วยรักษาผิวหน้าของแป้งขนมปังไม่ให้แห้งกระด้าง

(b) คัสตาร์ด ขนมฝรั่งที่มีส่วนผสมจากไข่ นม แป้ง และเนย การเก็บคัสตาร์ดมีความจำเป็นที่ต้องปิดแรปที่ผิวหน้าของคัสตาร์ด เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศทำให้ผิวหน้าจับตัวแข็งเป็นชั้นแยกจากเนื้อคัสตาร์ด



4. อุ่นอาหารในไมโครเวฟ

การอุ่นอาหารในไมโครเวฟใช้หลักคลื่นไมโครเวฟทำให้โมเลกุลของน้ำในอาหารกลายเป็นไอ ฉะนั้นการอุ่นบางครั้งจะสังเกตได้ว่าอาหารที่อุ่นแห้งแข็งเนื่องจากน้ำในอาหารหมดไปนั่นเอง การปิดภาชนะหรือห่ออาหารด้วยฟิล์มพลาสติกจะช่วยรักษาความชุ่มชื้นของอาหาร ทำให้นุ่มหรือร้อนโดยที่ไม่แห้งกระด้าง เน้นว่าใช้ในการอุ่นอาหารนะครับ การปรุงอาหารให้สุกในไมโครเวฟต้องใช้ความร้อนสูงและเวลานานมาก ไม่แนะนำให้ใช้นะครับ



5. สำหรับเพื่อนๆ ที่ทำอาหารขาย

พลาสติกถนอมอาหารยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าได้อีกด้วย โดยเฉพาะฟิล์มแบบ PVC เนื่องจากจะช่วยเพิ่มความใส วาว ยืดหยุ่น และยึดเกาะกับบรรจุภัณฑ์ได้ดีเลยทีเดียว เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการเน้นความสวยงามของการห่ออาหาร เพื่อนำเสนออาหารให้ดูดีน่ากินมากยิ่งขึ้น อย่างเช่น ซูชิ ขนมไทย เป็นต้น




หลายคนอาจจะมีความกังวลกับผลิตภัณฑ์พลาสติกที่นำมาใช้กับอาหาร ว่าใช้แล้วจะมีสารตกค้างมั้ย และมีข้อควรระวังในการใช้อย่างไร ก่อนอื่นเลยก็ควรจะเลือกซื้อยี่ห้อที่ได้มาตรฐานอุตสาหกรรม มีภาครัฐมาช่วยเรากรองเรื่องความปลอดภัยในระดับแรก สินค้าในท้องตลาดอาจจะมีหลากหลายรูปแบบให้เราเลือกใช้ ควรเลือกซื้อยี่ห้อที่ได้รับการรับรอง ทั้งด้านส่วนประกอบ กระบวนการผลิต และมาตรฐานอุตสาหกรรมครับ



1. อุณหภูมิที่ใช้ควรจะอยู่ในช่วงที่ฟิล์มสามารถทนได้ เช่น สามารถทนความร้อนได้สูงไม่เกิน 130 องศาเซลเซียส และทนความเย็นได้ไม่เกิน -40 องศาเซลเซียส การใช้งานของเราก็ต้องเผื่อให้ไม่เกินนั้น ผมแนะนำว่า ลดลงมาจากขีดจำกัดของเค้า 10-20% กันเลย นั่นก็คือไม่ควรใช้ในที่ความร้อนสูงเกิน 110 องศาเซลเซียส และเย็นต่ำกว่า -30 องศาเซลเซียส เป็นต้น ฉะนั้น เราจึงควรหลีกเลี่ยงนำไปปิดคลุมอาหารที่ร้อนจัด หรือนำเข้าเตาอบ เป็นต้น


แนะนำวิธีดูง่ายๆ แบบนี้ครับ ปกติแล้วน้ำจะเดือดที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส และไม่มีทางที่จะร้อนไปกว่านี้ ส่วนประกอบของอาหารมีน้ำเป็นหลัก น้ำมันสามารถร้อนได้ถึง 200 องศาเซลเซียส น้ำตาลก็เช่นกันสามารถร้อนได้สูงกว่า 100 องศาเซลเซียส มากๆ ฉะนั้น น้ำมันที่ร้อนมากๆ หรือน้ำตาลที่พึ่งเป็นคาราเมลน่าจะมีความร้อนสูงกว่า 130 องศาเซลเซียส แน่ๆ และจะสามารถละลายแรปได้ ส่วนอาหารอื่นๆ โดยทั่วไปแล้วอุณหภูมิของอาหารไม่น่าจะเกิน 100 องศาเซลเซียส ครับ ส่วนเรื่องความเย็นถ้าใช้งานตามบ้านปกติก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร อย่างมากเก็บเนื้อสัตว์ในช่องแข็งก็ไม่น่าจะเกิน –20 องศาเซลเซียส อยู่แล้ว


2. ไม่ควรห่ออาหารที่จะปรุงสุกในไมโครเวฟ คลื่นไมโครเวฟทำให้เกิดขบวนการความร้อนมากๆ ฉะนั้นการปรุงสุกด้วยไมโครเวฟจะไม่ควรใช้แรปห่ออย่างยิ่งครับ แต่การอุ่นอาหารด้วยไมโครเวฟหรือละลายน้ำแข็งจากเนื้อสัตว์ สามารถใช้ร่วมด้วยได้ครับ ทั้งนี้ควรดูยี่ห้อที่บอกที่บรรจุภัณฑ์ด้วยว่า สามารถใช้กับไมโครเวฟได้ครับ


3. ไม่ควรนำพลาสติกแรปไปสัมผัสกับอาหารหรือวัตถุดิบที่มีไขมันมากๆ ประกอบกับมีความร้อนในเวลาเดียวกัน ไขมันอาจทำปฏิกิริยากับพลาสติกแรป ทำให้เกิดสารปนเปื้อนในอาหารได้ เช่น นำไปห่อกับขนมปังที่พึ่งอบเสร็จใหม่ๆ จากเตาอบครับ


เชฟน่าน



สนใจผลิตภัณฑ์ เอ็ม แรป

โทร. 02-741-8444 หรือไลน์แอด @mmpcorp



bottom of page